ถาม-ตอบ? เกี่ยวกับการจดเลิกกิจการ มีประเด็นคำถามที่น่าสนใจอะไรบ้าง

สวัสดีค่ะ พี่เก่งนะคะ วันนี้พี่เก่งมีคำถามเกี่ยวกับการจดเลิกกิจการ มาเล่าสู่พวกเราฟัง เนื่องจากช่วงนี้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึง ช่วงต้นปีนี้นะคะ มีน้องๆ หลายท่านกำลังตัดสินใจที่จะจดเลิกบริษัท หรือว่าจดเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด แล้วก็มีคำถามที่สอบถามกันเข้ามาหลายๆ คน ซึ่งเป็นคำถามที่คล้ายๆ กันพี่เก่งก็อยากสรุปมาในคลิปนี้นะคะ

รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม สำหรับท่านใดต้องการฟังแบบคลิปบรรยาย
คลิกลิงก์ https://youtu.be/zW65JvDVnCs
หรือรับชมได้จากคลิปด้านล่างบทความนี้

ก่อนอื่น ขอแยกลักษณะของธุรกิจเป็นสองประเภท คือ

ประเภทแรก

ลักษณะของธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล หรือรูปแบบบริษัท หรือแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เปิดมาหลายปีแล้ว แล้วก็ไม่เคยทำธุรกิจเลย แล้วก็ยังไม่เคยจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ยังไม่มีการจดเข้าระบบประกันสังคม และยังไม่มีรายรับ-รายจ่าย ไม่มีเอกสารเลยนะคะ

กับอีกประเภทหนึ่ง

ธุรกิจที่เปิดมาหลายปีแล้วมีการทำธุรกิจแล้วก็ กระทบกับเหตุการณ์โควิด – 19 แล้วก็ทำให้ยอดขายลดลงอย่าง ต่อเนื่องจนถึงปีปัจจุบัน ก็ตัดสินใจที่อยากจะปิดกิจการแล้วก็ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจที่จดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จดเข้าประกันสังคมแล้ว ทีนี้พี่เก่งขอสรุปคำถามแบบนี้นะคะในแบบลักษณะของธุรกิจแบบแรกเปิดมาแล้วยังไม่ได้ทำอะไร?

คำถามที่น้องถามมาส่วนใหญ่ก็จะถามว่า
ถ้าสมมุติว่าเปิดบริษัทตั้งแต่เมื่อตอนต้นปี 2563 แล้วก็ไม่ได้ทำธุรกิจเลยจำเป็นไหมที่จะต้องปิดงบตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา?

พี่เก่งขอตอบคำถามแบบนี้

ในเมื่อเราเปิดเป็นบริษัท แล้วความเป็นนิติบุคคลเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่เราจดจัดตั้งบริษัทเสร็จ นั้นหมายความว่าในทางกฎหมาย กำหนดให้เราต้องปิดงบการเงินทุกๆ รอบ 12 เดือน เราก็ต้องมีการปิดงบตั้งแต่ ปี 2563 ปี 2564 รวมถึงปี 2565 ที่เป็นปีที่จดเลิกกิจการนะคะก็จะเป็นทั้งหมด 3 รอบบัญชี ซึ่งน้องเองก็อาจจะสงสัยว่าทำไมต้องปิดทุกปี เนื่องจากก็ไม่ได้ทำธุรกิจอะไรปิดแค่ปีสุดท้ายได้ไหม อันนี้ก็ต้องตอบตามกฎหมายนะคะ เนื่องจากว่างบการเงินเขาบังคับให้เราว่าต้องปิดทุกๆ รอบ 12 เดือน (ทุกๆ 1 ปี)

ประเด็นของการจดเลิกพอเราปิดงบทุกๆ ปีแล้วสมมติว่าจะจดเลิกกิจการปี 2565 เราก็ต้องทำงบโดยที่หาผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี ปิดงบเปล่าให้เรา ปิดงบรอบ 31 ธันวาคม 2563 ปิดงบ 31 ธันวาคม 2564 แล้วปี 2565 ก็ยังต้องปิดงบ เขาเรียกว่างบชุดจดเลิกซึ่งเอาไว้ในการยื่นที่กระทรวงพาณิชย์ และก็ยื่นที่กรมสรรพากร ซึ่งจะเป็นเรื่องของการเสร็จชำระบัญชี
ทีนี้ส่วนใหญ่น้องก็ถามว่า ถ้าปิดแค่ปี 2565 ปีเดียวได้ไหม โดยที่ข้ามปี 2563, 2564 ไปเลย อันนี้พี่เก่งก็ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าไม่ได้ เราจะต้องปิดงบไล่กันขึ้นมา ตั้งแต่ปีที่เราเปิดจัดตั้ง-จนถึงปีที่เราจดเลิก ถึงแม้ว่าปีที่เราจดเลิกจะเป็นรอบสั้นๆ เช่นอาจจะเป็นช่วงเดือนมีนา-เมษา อย่างนี้เราก็ต้องทำงบชุดจดเลิกเป็นระยะเวลาช่วง 3 ถึง 4 เดือนด้วยเช่นกัน เนื่องว่าเป็นกฎหมายที่จะต้องปิดงบในรอบปีสุดท้าย

พี่เก่งขอต่อด้วยคำถามอีก 1 คำถาม

มีน้องหลายๆ ท่านสอบถามเข้ามาว่าได้รับจดหมายจากทางกระทรวงพาณิชย์ หรือว่าได้รับจดหมายจาก สำนักงานตำรวจเศรษฐกิจ เรื่องของการไม่ได้ยื่นงบของปี 2563 และให้ไปจ่ายค่าเบี้ยปรับ ซึ่งกรณีแบบนี้ กรณีที่เราไม่ได้ยื่นงบปี 2563 ซึ่งปีนี้ก็เป็นปี 2564 แล้วก็ถึงเวลาที่เราจะต้องยื่นงบของรอบปี 2564 ซึ่งหมดเขตยื่นงบ 31 พฤษภาคม 2565 นี้ กรณีแบบนี้ก็จะเห็นว่าถ้าเราจะจดเลิกในปี 2565 นี้เราก็ต้องทำงบปี 2563 ปี 2564 อย่างที่พี่เก่งอธิบายให้ฟัง ส่วนเรื่องของค่าปรับ เบี้ยปรับเงินต้องจ่ายชำระให้เรียบร้อย อันนี้จะเป็นความรับผิดชอบและเป็นภาระของเรา ในทุกปีๆ ที่จะต้องมีการส่งงบการเงิน พี่เก่งก็อยากแนะนำพวกเราอย่างนี้ ในกรณีเราทำธุรกิจอยากให้เราลองพิจารณาดูอีกนิดหนึ่ง

ในช่วงของการเริ่มต้นถ้าเราจะเริ่มต้น ทำในเรื่องของบุคคลธรรมมดาก่อนก็ได้ และถ้าธุรกิจไปได้ดี ก็ค่อยตัดสินใจจดเป็นรูปบริษัทได้ เนื่องจากว่าพอเราจดเป็นรูปบริษัทแล้วจะมีภาระต่างๆ ตามมาค่อนข้างเยอะแยะ อย่างน้อยๆ ก็จะมีเรื่องของค่าปิดงบการเงินการเงินทุกปีต้องมีทั้งค่าใช้จ่ายทั้งผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี ลูกค้าบางคนนะคะไม่เข้าใจเรื่องของกฎหมายเรื่องพวกนี้พอเวลาต้องจ่ายค่าทำบัญชี จ่ายค่าสอบทุกปีก็จะรู้สึกว่ามันเป็นภาระ และเป็นค่าใช้จ่ายค่อนข้างจะเยอะ

น้องๆ บางคนก็จะเล่าให้ฟังว่าการจดเป็นรูปบริษัท ก็จะดีใจอยู่สองวันนะคะ ก็คือวันจดจัดตั้งกับวันจดชำระบัญชี จดเลิกเสร็จเรียบร้อยแล้ว พี่เก่งอยากให้เราลองพิจารณาเรื่องพวกนี้ดู

พี่เก่งขอเล่าอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องการจดเลิกกรณีเป็นบริษัทที่ดำเนินการมาหลายปีแล้ว และต้องการจดเลิกในปี 2565

มีน้องก็ถามว่า ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้เนี่ยต้องทำอะไรกับเรื่องจดเลิก และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
ก็ส่วนใหญ่เราก็ต้องดูงบการเงินของรอบปีที่แล้ว คือถ้าใคร

ไม่ได้ปิดงบรอบปี 2564 ก็ไปดูงบปี 2563 มีทรัพย์สินหรือมีหนี้สินอะไรค้างอยู่ในงบบ้าง เช่นถ้าเรามีเรื่องของอุปกรณ์สำนักงานมีเรื่องของตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ออฟฟิศต่างๆ เราก็ต้องมีการขายออกไปโดยที่จะขายตามราคาตลาดหรือว่าจะให้ราคา สูงกว่าราคาตามบัญชีนิดหน่อย รายการดังกล่าวที่มีการขายออกไปถ้าธุรกิจเรา มีการจดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็ต้องมีการนำส่งด้วย หรือว่าในรายการทรัพย์สินเรามีสินค้าคงเหลือค้างอยู่เราก็ต้องทำการขายสินค้าคงเหลือดังกล่าวออกไปด้วยเช่นเดียวกัน จะขายในราคาตลาด หรือ ราคาทุนก็ได้นะคะ หรือว่าถ้าสินค้าเป็นสินค้าที่เสื่อมสภาพ เราก็สามารถที่จะขายต่ำกว่าราคาทุนได้แต่ราคาตรงไหนที่เราขายก็ต้องมีการนำส่งภาษีขายด้วยนะคะ ตรงนี้ต้องอย่าลืมประเด็นเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยถ้าเราจดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

เรื่องของตัวต่อมา กรณีเราจะจดเลิกกิจการ

กรณีเราจะดูว่างบการเงินของเรา เป็นผลขาดทุนสะสม หรือ เป็นกำไรสะสมถ้าบางธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาเคยมีกำไรเยอะ แล้วก็ ณ วันที่เราจะจดเลิกก็ยังเป็นกำไรสะสมค้างอยู่ในงบ ควรที่จะทำเรื่องการจ่ายเงินปันผลคืนผู้ถือหุ้น

โดยที่ก็ทำตามขั้นตอนนะคะที่เพิ่งเคยอธิบายในคลิปก่อนหน้านี้แล้ว
รายละเอียด :https://www.youtube.com/watch?v=NPYMY06Ow0I
สรุปเพิ่มเติม ต้องมีเรื่องของการหัก ณ ที่จ่ายแล้วก็นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย 10%
ซึ่งตรงนี้ผู้ถือหุ้นที่รับเงินไปก็สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเอาคำนวณภาษีตอนสิ้นปี หรือว่าจะ wave ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่ที่ว่าฐานภาษีเรามากกว่า หรือน้อยกว่า 10%

ทีนี้กรณีงบเราที่จะจดเลิกเป็นขาดทุนสะสม ก็สามารถที่จะจดเลิกได้เลย แต่ว่าถ้างบที่ขาดทุนสะสมมาหลายปี ก็จะมีบัญชี เจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ ซึ่งส่วนใหญ่พอเราจะจดเลิก ก็จะไม่เงินไปใช้หนี้กรรมการ รายการนี้ก็จะทำเป็นเรื่องการยกหนี้ให้บริษัท ทางฝั่งบริษัทเองก็ต้องรับรู้เป็นรายได้ ตรงนี้ต้องมีการเสียภาษีนิติบุคคลด้วย แต่ถ้างบของเรามีขาดทุนสะสมยกมาใช้ก็สามารถนำมาใช้ ก็อาจไม่ต้องมีภาษีที่ต้องนำส่ง

ทีนี้ก็จะมีเรื่องขั้นตอนพอเราตัดสินใจจะจดเลิกแล้ว เราก็จะต้องทำเอกสารเพื่อจะไปจดเลิกที่ DBD ที่กระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้น 15 วัน เราก็ต้องไปจดเลิกที่กรมสรรพากร แล้วก็ไปจดเลิกที่ประกันสังคมให้เรียบร้อย

หลังจากนั้นเราก็ต้องมาทำงบการเงิน หาผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี ทำงบการเงินวันจดเลิก งบการเงิน ณ วันจดเลิก ก็จะเป็นงบการเงินที่เราเคลียร์ทรัพย์สิน หนี้สินอะไรจนให้เหลือน้อยที่สุดแล้ว แล้วก็พอวันที่เรา ทำงบชุดจดเลิกเสร็จ ผู้สอบบัญชีเซ็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็เอางบตัวนี้พร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50 ไปยื่นที่กรมสรรพากร ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้ระยะเวลานานนิดหนึ่ง และก็ถ้าสรรพากรใช้เวลาตรวจนานแล้วเรายังไม่สามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้ที่กระทรวงพาณิชย์ เราจะต้องมีการส่งเอกสารทุกๆ 3 เดือน ชื่อว่าแบบ ลช. 3 ซึ่งจะยื่นในทุกๆ 3 เดือน ในช่วงระยะเวลาการตรวจ และถ้าสรรพากรมีการตรวจอนุมัติเรื่องการออกจาก VAT เรียบร้อยแล้วก็เราก็สามารถที่จะจดเสร็จชำระบัญชี ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ อันนี้จะเป็นขั้นตอนของการจดเลิก ซึ่งน้องๆ หลายท่านมีการสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอน และก็มีความกังวลเกี่ยวกับการจดเลิก เนื่องจากมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน ก็อยากให้น้องๆ ค่อยศึกษาหรือว่าจะปรึกษาพี่เก่ง ทีมงานที่เก่งได้นะคะ ในเรื่องการจดเลิก ซึ่งทางพี่เก่งก็มีบริการตรงนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

พี่เก่งก็อยากจะแชร์คลิปนี้ให้กับพวกเรา และก็อยากให้พวกเราเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ก็ขอสรุปประมาณเท่านี้นะคะ เจอกันในคลิปถัดไปค่ะ ขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ

Video บรรยาย ถาม-ตอบ? #เกี่ยวกับการจดเลิกกิจการ #มีประเด็นคำถามที่น่าสนใจอะไรบ้าง

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม


ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

สนใจคอร์สเรียนบัญชีภาษี

คอร์สเรียนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษีทั้งระบบ/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ขายสินค้าออนไลน์
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษี-ขายสินค้าออนไลน์/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (YouTuber)
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/วางแผนภาษี-ยูทูปเบอร์/

แชร์