การวางแผนภาษีรายได้ค่าเช่ามีวิธีการอย่างไร?

ภาษีรายได้ค่าเช่า เนื่องจากได้นำอาคารพาณิชย์ 3 ห้อง ให้ทาง เซเว่น อีเลฟเว่น เช่าและได้รับค่าเช่าเดือนละ 120,000 บาท/เดือน จะสามารถวางแผนภาษีได้อย่างไร?

ภาษีรายได้ค่าเช่า

เป็นรายได้ที่ไม่มี VAT และไม่ต้องนำส่ง VAT รายเดือน
ถ้าหากให้เช่าในนามบุคคลธรรมดา รายได้ตรงนี้ ก็ต้องนำไปเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมดา

รายได้ค่าเช่า 40(5) ถ้าเป็นอาคารพาณิชย์ หรือ ตึก สิ่งปลูกสร้าง กรณีที่รับรายได้ค่าเช่าจะหักต้นทุนได้ที่ 30%

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

รายได้40(5) หัก ค่าใช้จ่าย 30% หัก ค่าลดหย่อน

รายได้เดือนละ 120,000 บาท X 12 เดือน = 1,440,000 บาท ตัวเลขตรงนี้เป็นรายได้ 40(5)

หักต้นทุน 30% = 432,000 บาท
เงินได้หลังหักต้นทุน = 1,008,000 บาท แล้วนำมาหักค่าลดหย่อน

หักค่าลดหย่อน

นำตัวเลขเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน = 878,000 บาท ไปดูเทียบกับตารางคำนวณภาษี

ตัวอย่าง ตารางคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เอาตัวเลข 878,000 – 750,000 (ภาษีขั้นเงินได้สุทธิ) จะเหลือตัวเลขที่นำมาคำนวณ 128,000 X 20% = 25,600

นำตัวเลขมารวมกันตั้งแต่ 7,500 บาทบรรทัดแรกจนถึงบรรทัดสุดท้ายที่ 25,600 บาท
= 7,500 + 20,000 + 37,500 + 25,600 = 90,600 บาท เป็นภาษีทั้งปีที่ต้องจ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี

ภาษีที่ 7-Eleven หักไว้ทุกเดือน

ภาษีที่ 7-Eleven หักไว้ทุกเดือน เดือนละ 6,000 ทั้งปีคือ 72,000 บาท นำภาษีที่เซเว่นหักไว้ มาหักออกจาก 90,600 – 72,000 = 18,600 ภาษีตอนสิ้นปีที่ต้องยื่นภาษีเพิ่มเติม

การ SAVE ภาษี

หากผู้ประกอบการอยากจะ SAVE ภาษีให้ต่ำลงอาจจะต้องมีการซื้อประกันชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาทเพื่อให้ยอดภาษีลดลงมา จากเดิมที่ซื้อประกันแค่ 10,000 บาทก็ต้องซื้อเพิ่มอีก 90,000 บาท เพื่อให้เป็น 100,000 บาท

ตัวอย่างคำนวณภาษีค่าลดหย่อน

หักค่าลดหย่อนประกันชีวิต 100,000 บาท จะเหลือตัวเลขที่นำมาคำนวณภาษี 788,000 บาท จะหายไป 90,000 บาท เดี๋ยวมาคำนวณภาษีกันใหม่อีกรอบค่ะ

ตัวอย่าง ตารางคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวภาษีจะสเต็ปเดิม แต่ขั้นสุดท้ายที่ 20% จะเหลือตัวเลขคำนวณภาษี 38,000 บาท = 38,000 X 20% = 7,600 บาท
จากตอนแรก 128,000 บาทก็จะลดลงไป 90,000 บาท

นำตัวเลขมารวมกันตั้งแต่ 7,500 บาทบรรทัดแรกจนถึงบรรทัดสุดท้ายที่ 7,600 บาท
= 7,500 + 20,000 + 37,500 + 7,600 = 72,600 บาท

ภาษีที่ 7-Eleven หักไว้ทุกเดือน

นำ 72,600 และภาษีที่7-Eleven หักไว้ทุกเดือนมาหักออก 72,600 – 72,000 = 600 บาท ที่ต้องชำระภาษี
แค่ท่านผู้ประกอบการวางแผนซื้อประกันชีวิตเพิ่มขึ้น จากภาษีที่จ่ายตอนแรก 18,600 บาท จะเหลือส่วนต่างของภาษีที่จ่ายเพิ่มตอนสิ้นปี 600 บาท

จะเห็นได้ว่าตัวเลขทั้งสองตัวสามารถวางแผนได้ว่าจะจ่ายภาษีเพิ่ม 18,600 หรือ 600 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนภาษี เนื่องจากว่าประกันชีวิตที่ซื้อไว้ตอนแรก 10,000 บาท ถ้าจะทำให้มีความคุ้มครองมากขึ้นและเป็นเงินออมสำหรับตัวท่านเอง คุ้มครองเรื่องอุบัติเหตุ / สุขภาพ ก็สามารถที่จะใช้ตัวเลือกนี้ในการวางแผนภาษีให้จ่ายน้อยลงได้

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม


ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

แชร์