กรณีศึกษา EP.2 ถาม-ตอบ จากแชทไลน์ (LINE) ประเด็น–>คำถามที่ลูกค้าถามเข้ามา

สวัสดีค่ะพี่เก่งนะคะ

พี่เก่งก็จะมาแชร์เรื่องเกี่ยวกับคำถาม-คำตอบของน้องๆ ต่อ ใน EP.2 ที่ถามเข้ามาในไลน์ทั้งไลน์ส่วนตัว, ไลน์แอด แล้วก็ช่องทางเรื่องของการติดต่อพี่เก่งหลายช่องทาง และก็มีคำถามเข้ามาเยอะ พี่เก่งก็เลยอยากจะเล่าสู่พวกเราฟังค่ะ

#รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้จากคลิปนี้ได้เลย
#ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

เนื้อหาประกอบคลิปบรรยาย

รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย + เพิ่มเติม

ประเด็นคำถามมีดังนี้

1.มีอพาร์ตเมนต์ให้แล้วก็มีการแบ่งรายได้ระหว่างสามีกับภรรยา ตัวภรรยาสามารถที่จะแยกยื่นภาษีในนามคนเดียวได้ไหม?
2.เปิดบริษัทมาแล้วไม่มีการประกอบธุรกิจเลย เอกสารทั้งหมดสามารถที่จะรวบรวมส่งทางสำนักงานบัญชีทีเดียวได้เลยหรือเปล่า?
3.คำถามจากน้องท่านหนึ่งที่ถามเข้ามา
3.1 เริ่มทำงานกับคุณพ่อคุณแม่ที่ธุรกิจที่ครอบครัว ได้รับเป็นเงินเดือน เหมือนกับเป็นพนักงานประจำ ตรงนี้ต้องเอาไปยื่นภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีด้วยหรือเปล่า
3.2 ได้รับค่าเลี้ยงดูจากคุณพ่อคุณแม่ ค่าขนมจากคุณพ่อคุณแม่ ตรงนี้ต้องเอาไปยื่นเป็นเงินได้ของตัวเองด้วยหรือเปล่า?

คำถามแรกค่ะ

ก็เป็นน้องท่านหนึ่งพิมพ์เข้ามาถามว่าน้องมีอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ประมาณสัก 20 ห้องแล้วก็มีการแบ่งรายได้ระหว่างสามีกับภรรยาโดยที่ส่วนหนึ่ง ค่าเช่า ก็ให้รับในนามของสามี และก็ส่วนค่าบริการ ก็จะรับในนามของภรรยาซึ่งน้องท่านเนี่ยก็เป็นตัวภรรยาที่ไลน์เข้ามาถามพี่เก่ง คำถามของน้องก็คือว่าตัวรายได้ค่าเช่าของสามีกับรายได้ค่าบริการที่เขาแยกกันรับ ตัวภรรยาสามารถที่จะแยกยื่นภาษีของตัวภรรยาเองในนามคนเดียวได้ไหม หรือว่าต้องเอารายได้ตรงค่าบริการ ไปร่วมกับสามีแล้วก็ยื่นภาษีในนามของสามี พอพี่เก่งอ่านคำถาม พี่เก่งก็เลยได้มีการสอบถามเพิ่มเติมว่า ตัวอพาร์ตเมนต์ 20 กว่าของที่ทำธุรกิจกันเนี่ยค่ะ เวลาเขารับเงินเขาจะเปิดใบแจ้งหนี้ออกเป็นหนึ่งใบแต่ว่าเป็นสองบรรทัด เป็นค่าเช่าบรรทัดหนึ่งแล้วก็ค่าบริการพวกอำนวยความสะดวกสบาย เช่น พวกค่าบริการเฟอร์นิเจอร์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการเรื่องของตัวสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น แม่บ้านช่างต่างๆ แล้วก็จะมีเรื่องของค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ซึ่งตัวค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ก็จ่ายตามมิเตอร์อยู่แล้ว แต่ว่าตัวประเด็นค่าเช่ากับค่าบริการที่แยกกันรับระหว่างสามีรับค่าเช่าแล้วก็ภรรยารับค่าบริการ จริงๆพี่เก่งก็แนะนำน้องไปอย่างนี้ว่า กรณีแบบนี้เองจริงๆ ก็ไม่ควรทำเพราะว่ามันดูเป็นเรื่องของการแบ่งฐานภาษีเกินไป เวลาเราถูกสรรพากรตรวจเองประเด็นนี้ก็อาจจะไม่เคลียร์ พี่เก่งก็เลยแนะนำน้องท่านนี้ไปแบบนี้ว่ากรณีนี้

สามารถทำได้สองอย่างอย่างก็คือ

1. ในตอนที่ออกใบแจ้งหนี้หรือเปิดใบเสร็จก็ทำในนาม อาจจะตั้งเป็นคณะบุคคล หรือว่าตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญก็ได้ค่ะแบบที่ไม่ต้องจดทะเบียนแล้วก็ให้รับเงินในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญแล้วก็ตอนที่คำนวณภาษีเสร็จแล้ว ก็อาจจะแบ่งระหว่าง ภรรยากับสามี หรือว่าจะเก็บไว้ที่ห้างหุ้นส่วนสามัญก็ได้ ก็เสียภาษีในรูปของตัวนี้ตัวเดียว หรือ

2.อาจจะเป็นเรื่องของการโอนเรื่องสิทธิเก็บกินระหว่างสามีโอนให้ภรรยาอาจจะแบ่งกันคนละชั้นหรือว่าคนละ 10 ห้องนี้ก็ได้เพื่อเป็นการแบ่งเรื่องของรายได้แต่ไม่ควรจะเป็นแบ่งกันอย่างที่น้องทำ คือค่าเช่ารับคนหนึ่ง ค่าบริการรับคนหนึ่งแล้วก็มีการโอนเงินเข้าบัญชีใครบัญชีมันอย่างนี้ ซึ่งในในสุดท้ายเวลาถูกสรรพากรตรวจหรือว่าเราต้องไปอธิบายมันก็จะดูแปลกๆ อันนี้ก็พี่เก่งก็อยากจะให้เป็นแนวทางประมานนี้นะคะ

คำถามที่ 2 ค่ะ

มีน้องท่านหนึ่งพิมพ์เข้ามาถามว่ากรณีเปิดบริษัทมาแล้วประมาณเกือบจะหนึ่งปีแล้วไม่มีการประกอบธุรกิจเลยแล้วก็ยังไม่ได้จดเข้า VAT ยังไม่จดเข้าประกันสังคม เนื่องจากว่าเจอสถานการณ์เรื่องโควิดก็เลยยังไม่ดำเนินธุรกิจอะไรต่างๆ เลย ทีนี้น้องก็ถามว่าเรื่องที่ผ่านมามีเรื่องของค่าใช้จ่ายนิดๆ หน่อยๆ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องของการจัดตั้งบริษัทเรื่องของค่าน้ำมันรถทางด่วนเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจขึ้นมานิดหน่อย แล้วก็มีบิลประมาณสัก 10 กว่าใบ ถามว่าพอถึงเวลาปิดงบสิ้นปี ตามกฎหมายก็ให้ปิดงบ น้องก็ถามว่าเอกสารทั้งหมด เราสามารถที่จะรวบรวมส่งทางสำนักงานบัญชีทีเดียวได้เลยหรือเปล่าตอนที่จะปิดงบแล้วก็สอบถามว่า แล้วในแต่ละเดือนมีภาษีต้องยื่นหรือเปล่า พี่เก่งอธิบายพวกเราอย่างนี้ว่ากรณีที่เป็นลักษณะแบบนี้คือเปิดบริษัทมาแล้วหรือเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นมาแล้ว แล้วก็ยังไม่ Run ธุรกิจยังไม่มีเรื่องของตัวภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่มีประกันสังคม แล้วก็ยังไม่มีการไปจ่ายค่าบริการต่างๆเนี่ยค่ะอันนี้ก็จะไม่มีเรื่องภาษีรายเดือนเกิดขึ้นเลย เราสามารถที่จะรวบรวมบิลอย่างที่น้องท่านนี้เล่าให้ฟังคือว่าเราก็รวบรวมบิลไว้แล้วก็ถึงสิ้นปีพอเลย 31 ธันวาคมของแต่ละปีไปแล้ว เราก็ติดต่อสำนักงานบัญชีเพื่อจะส่งเอกสารให้เขา แล้วก็ให้เขาประเมินราคาการปิดงบทั้งทางฝั่งค่าทำบัญชีแล้วก็ฝังค่าสอบบัญชี ว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่แล้วเราก็ให้ทางนักบัญชี ปิดงบการเงิน ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบงบ ให้กับทางเรานะคะ ส่งงบที่กระทรวงพาณิชย์ ส่งงบที่สรรพากร ตามกฎหมายให้ถูกต้องเรียบร้อย แล้วก็ในเรื่องของการทำงบ เราก็มีระยะเวลาในการทำงบประมาณ 5 เดือน ถ้าเกิดว่าเราปิดงบทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เราก็ต้องส่งงบให้เสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เช่นเดียวกันอันนี้เป็นกฎหมายที่กำหนดระยะเวลาไว้สำหรับเรื่องของการปิดงบและส่งงบการเงินนะคะ

คำถามที่ 3

อันนี้เป็นคำถามจากน้องท่านหนึ่งน่ารักมากพี่เก่งก็เลยอยากจะแชร์คำถาม น้องๆน่าจะเคยเจออาจจะประสบกับตัวเองน้องท่านนี้พิมพ์มาเล่าให้ฟังว่าตัวเองพึ่งจะเรียนจบจากมหาลัยแล้วก็มาเริ่มทำงานกับคุณพ่อคุณแม่ที่ธุรกิจที่ครอบครัวของที่บ้านแล้วก็คุณพ่อคุณแม่ก็ให้เงินเดือน ให้เงินเดือนในการเหมือนกับเป็นพนักงานประจำเพื่อให้น้องได้มีเงินเดือนประจำดูแลตัวเอง น้องก็สอบถามว่าตรงนี้ต้องเอาไปยื่นภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีด้วยหรือเปล่า พี่เก่งก็ตอบว่าใช่ เพราะว่าเรามีเงินเดือนประจำเราก็ต้องเสียภาษีแล้วก็ยื่นแบบตอนสิ้นปีให้ถูกต้องกรณีที่เรามีรายได้ มากว่า 60,000 บาท. ต่อปีขึ้นไปเนี่ยเราก็ต้องมีหน้าที่ในการยื่นแบบ

ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?

ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้

(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
(3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
ที่มาเว็บไซต์กรมสรรพากร: https://www.rd.go.th/551.html

ถ้าเป็นพนักงานมีเงินเดือนอย่างเดียวก็ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ยื่นตอนสิ้นปีทีเดียวครั้งเดียวแล้วก็ถ้าฐานภาษีคำนวณแล้วหักค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อนแล้วไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ยืนแค่แบบ ภ.ง.ด. 91 อย่างเดียวก็ไม่มีภาษีต้องเสีย
ทีนี้น้องมีคำถามนิดนึงค่ะก็พิมพ์เข้ามาเพิ่มว่าน้องเองก็ยังได้ค่าเลี้ยงดูจากคุณพ่อคุณแม่ จากสมัยก่อนที่เป็นนักศึกษาเรียนอยู่แล้วก็ยังได้ค่าขนมจากคุณพ่อคุณแม่พอมาทำงาน คุณพ่อคุณแม่ก็ยังให้ค่าขนมอยู่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีเงินเดือนประจำแล้วก็ยังได้ค่าขนมเหมือนเดิมด้วย น้องถามว่าค่าขนมตรงนี้ ต้องเอาไปยื่นเป็นเงินได้ของตัวเองด้วยหรือเปล่า พี่เก่งก็เลยบอกน้องว่าตัวกรณีที่เป็นค่าเลี้ยงดูที่พ่อแม่ให้เราอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะให้มากเท่าเดิมหรือว่าให้น้อยลงก็แล้วแต่เงินตรงนี้ไม่ต้องนำไปเสียภาษีเนื่องจากว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นเนื่องจากบุพการีให้กับทางบุตรของเรา ก็ไม่ต้องเอาตัวนี้มารับรู้เป็นรายได้ น้องเองก็ยิ้มแก้มปริเลยค่ะก็ถือว่าก็ได้เงินค่าขนมโดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนะคะ เคสนี้ก็น่าจะเป็นเคสน่ารักพี่เก่งอยากแชร์พวกเรานะคะ

ก็เป็นคำถามที่น้องๆ ถามเข้ามาในไลน์แอด พี่เก่งก็พยายามตอบทุกวัน อาจจะตอบช้าบ้างเร็วบ้างก็ต้องขออภัยน้องๆ ด้วยนะคะ ก็ถ้าใครมีคำถามก็สามารถสอบถามเข้ามาได้ พี่เก่งก็ขอสรุปคลิปนี้ไว้ประมานนี้นะคะ เดี๋ยวเจอกันคลิปหน้าค่ะ ขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม


ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

ปรึกษาเรื่องภาษีบัญชีทั่วไป

ปรึกษาฟรี! 3 คำถาม
มากกว่านั้นคิด 5,000 บาท/ชม.
แอดที่ไลน์ id: @kengbunchee

—————————————

ปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีทั้งระบบ
โทรศัพท์: 25,000 บาท/ 2 ชม.บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วางแผนด้านตัวเลข
…………….*กรณีเป็นเคสภาษีซับซ้อน ของแจ้งราคาเป็นเคสๆ ค่ะ
โทรศัพท์: 085-067-4884

—————————–

สนใจบริการ ด้านบัญชี ภาษี, จดทะเบียนนิติบุคคล (จดจัดตั้ง จดเปลี่ยนแปลง บริษัท, หจก.)
บริการด้านบัญชี ภาษี โทร: 085-067-4884 LINE ID: @kengbunchee
บริการด้านจดทะเบียนนิติบุคคล โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp

—————————–

บริการด้านจด VAT, ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ,ขอ VISA,ขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
จดมูลนิธิ,สมาคม, พิโกไฟแนนซ์, วางแผนภาษี “
โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp

—————————–

สนใจคอร์สเรียนภาษี

คอร์สเรียนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษีทั้งระบบ/

คอร์สเรียน วางแผนภาษี ขายสินค้าออนไลน์
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษี-ขายสินค้าออนไลน์/

คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (YouTuber)
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/วางแผนภาษี-ยูทูปเบอร์/

แชร์