วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม

ใบกำกับภาษีปลอม ที่กระทำไปในทางทุจริต หลีกเลี่ยงภาษีอากร และอีกกรณีก็คือ ใบกำกับภาษีที่ผู้ใช้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี สรรพากรถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ภาระการพิสูจน์จึงเป็นของผู้ใช้ใบกำกับภาษี 

วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม
  • ใบกำกับภาษีที่มีการแก้ไขข้อความ หรือลบข้อความในเอกสารจริงออก
  • ใบกำกับภาษีที่ออกโดยคู่ค้าที่ไม่จด VAT (การออกใบกำกับภาษีได้ จำเป็นต้องมีการจด VAT)
  • ใบกำกับภาษีที่ออกมาโดยไม่มีการซื้อขายจ่ายรับจริง
  • ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถยืนยันหรือพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้ออก
  • ใบกำกับภาษีที่ออกโดยมีมูลค่าสินค้าและบริการไม่ตรงตามจริง
  • ใบกำกับภาษีที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ทำการออกให้ผู้ซื้อใบกำกับภาษี โดยผู้ซื้อนั้นมีเจตนาในการหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการออกให้กับคู่ค้าที่ไม่ได้ทำการซื้อสินค้า หรือบริการจริง เช่นผู้ประกอบการจดทะเบียนร้านค้าปลีก ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี แล้วนำรายการนั้นมาออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบให้แก่บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้ซื้อสินค้าจริง
  • ใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ออกตามจริง เช่นการออกเอกสารใบกำกับภาษีโดยมีรายการสินค้า และบริการไม่ตรงตามจริงที่ได้ทำการซื้อขายให้บริการ
สรรพากรสังเกตใบกำกับภาษีปลอม
  • ประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง เช่น วัสดุก่อสร้าง, ผ้า, พลาสติก, กระดาษ, เคมีภัณฑ์, เพชรพลอย
  • สินค้าที่ซื้อไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
  • ซื้อจากสถานที่ที่ไม่น่าจะซื้อ
  • ใบกำกับภาษีมูลค่าสูง, ราคาสินค้าหรือบริการไม่น่าเชื่อถือ, เขียนด้วยลายมือ, จ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด
  • ซื้อจากผู้ประกอบการรายเดียว ในวันที่ติดๆ กัน หรือใกล้กัน
  • ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการนำมาใช้ในช่วงปลายเดือน ปลายปี
  • ใบกำกับภาษีที่ไม่พิมพ์ “เล่มที่” 
  • แบบฟอร์มใบกำกับภาษีคล้ายกันหรือลายมือที่เขียนคล้ายกันแต่ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีต่างกัน
  • วิธีการซื้อสินค้า ไม่ได้ซื้อจาก Supplier โดยตรง แต่ซื้อจากเซลล์หรือพนักงานขายสินค้า
โทษของการขายและใช้ใบกำกับภาษีปลอม

โทษทางแพ่งผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม

  1. เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี / ใบเพิ่มหนี้ / หรือใบลดหนี้
  2. เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย
    นอกจากนั้น ต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่แสดงในใบกำกับภาษี / ใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้

โทษทางแพ่งผู้ซื้อใบกำกับภาษีปลอม

  1. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี(มาตรา 89(7))
  2. เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ฐานยื่นภาษีไว้เกิน ตามมาตรา89(4) และเสียภาษีไว้คลาดเคลื่อน ตามมาตรา89(3)
  3. เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษี

โทษทางอาญา จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7ปี และปรับ 2,000 – 200,000 บาท

ทำอย่างไรไม่ให้เจอใบกำกับภาษีปลอม
  1. ไม่ควรซื้อสินค้าราคาถูกเกินไปหรือราคาต่ำกว่าตลาด โดยไม่มีหลักฐานมายืนยัน
  2. ตรวจสอบรายการสินค้าในใบกำกับภาษีก่อนทุกครั้งที่ซื้อขายว่าตรงหรือไม่
  3. ติดต่อซื้อขายสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่เคยทำการซื้อขายร่วมกันมาก่อน หรือธุรกิจที่จดทะเบียนบริษัทอย่างถูกกฎหมาย
  4. สํารวจธุรกิจของคุณว่ามีความเสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่
  • ประเภทกิจการที่ไม่มีใบเสร็จหรือใบกำกับภาษี มาเป็นค่าใช้จ่ายหรือกำไรในการประกอบกิจการสูง ส่วนมากจะเป็นกิจการให้บริการ เช่นธุรกิจรับเหมา รับจ้าง ให้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ ขายวัสดุก่อสร้าง ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
  • การจ่ายเงินค่าสินค้า ค่าบริการ ถ้ามีการจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คเงินสดแต่ละครั้งเกิน 50,000 บาท โอกาสที่จะใช้ใบกำกับภาษีปลอมมีมาก
  • หากมีการจ่ายเป็นเงินสดในสัดส่วนที่เกิน 20% ของการจ่ายเงินทั้งหมด ก็มีโอกาสเสี่ยงในการใช้ใบกำกับภาษีปลอม

ใบกำกับภาษีมีความสำคัญอย่างมากที่ผู้เสียภาษีนำมาเป็นหลักฐาน ในการขอเครดิตหรือขอคืนภาษี และเปรียบเสมือนเป็นหลักฐานทางการเงิน หากใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ผู้เสียภาษีนำมาขอเครดิตหรือขอคืนภาษีแล้ว เป็นการปลอมใบกำกับภาษี จึงเป็นการจงใจเจตนา ที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีและมีความผิดร้ายแรง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีผู้เสียภาษีบางกลุ่มที่ยังใช้ใบกำกับภาษีปลอม และต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม


ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

แชร์