รับจดทะเบียนพาณิชย์ (รับจดทะเบียนการค้า)

รับจดทะเบียนพาณิชย์ (ทะเบียนการค้า) ขึ้นจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เราดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รับจดทะเบียนพาณิชย์ (รับจดทะเบียนการค้า)

รับจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นอีกข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขาย เป็นหลักฐานสำคัญที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสร้างความมั่นใจได้ว่าร้านค้านั้นมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ทำให้ลูกค้าสามารถรับ-คืน-เปลี่ยนสินค้าได้ หรือหากสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลารับประกัน

ทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจค้าขายประเภทตามที่กฎหมายกำหนด และมีหน้าร้าน ซึ่งใช้กับธุรกิจค้าขายและบริการขนาดเล็ก กิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว ทำการค้าขายแบบง่ายไม่ซับซ้อน ทั้งการค้าขายแบบทั่วไป และการขายออนไลน์ ( แต่การขายออนไลน์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ) 

กิจการที่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ มีดังนี้

ถ้าบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ และบริษัทต่างชาติเปิดสาขาในไทย ประกอบกิจการดังนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. ธุรกิจโรงสีข้าว และโรงงานที่ใช้เครื่องจักรในการเลื่อย
2. ธุรกิจขายสินค้าที่มีรายได้วันละ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าไว้ขาย 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าขายสินค้า
4. ธุรกิจหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรม
5. ธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ เรือ รถไฟ รถยนต์ ธุรกิจซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืมเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อขายตั๋วเงิน ธนาคาร โรงรับจำนำ และธุรกิจโรงแรม
6. ขาย เช่า ผลิต หรือรับผลิต CD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณี เครื่องประดับ ที่ตกแต่งด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์
9. ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต
10. ธุรกิจเช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
11. เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์
12. ธุรกิจบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
13. ธุรกิจให้บริการฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ
14. ธุรกิจเครื่องเล่นเกมส์
15. ธุรกิจบริการตู้เพลง
16. โรงงานแปรสภาพจากงาช้าง และขายปลีก ขายส่งงาช้างและสินค้าที่ทำจากงาช้าง

ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท ประกอบกิจการดังนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ขาย เช่า ผลิต หรือรับผลิต CD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะการบันเทิง
2. ขายเครื่องประดับที่มีส่วนประกอบจากอัญมณี
3. ซื้อขายสินค้า บริการผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต
4. บริการอินเทอร์เน็ต
5. ให้เช่าพื้นที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

กิจการที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

1. ค้าเร่ หรือ ค้าขายแบบแผงลอย
2. พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนา หรือ เพื่อการกุศล
3. นิติบุคคลที่ได้รับพระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชบัญญัติ จัดตั้งนิติบุคคลขึ้น
4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5. มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ต่างๆ
6. เกษตรกรที่ได้จดทะเบียน ปว.141

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์    

ตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ เจ้าของกิจการมีหน้าที่ต้องไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน โดยมีวิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ดังนี้

1.เอกสารที่ใช้จดทะเบียน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของธุรกิจ
  • แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ แบบ ทพ. ซึ่งสามารถขอได้จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุกเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา
  • แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน
  • หากเป็นนิติบุคคลให้เตรียมหนังสือรับรองบริษัท
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 50 บาท
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสัญญาเช่า (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)

2.สถานที่จดทะเบียน

สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง เทศบาล อบต. ที่ธุรกิจของเจ้าของธุรกิจตั้งอยู่เท่านั้น โดยสามารถแยกย่อยได้ดังนี้

2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่  

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
  • ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

2.2 ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

รับจดทะเบียนพาณิชย์ (รับจดทะเบียนการค้า)
  1. ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ค่าบริการ 4,000 บาท (ก่อน VAT)
  2. ต่างจังหวัด จัดทำเอกสาร 2,000 บาท (ก่อน VAT)
    *ต่างจังหวัดให้ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการเป็นผู้ไปจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า) ทางเราเป็นผู้จัดทำเอกสารให้

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นนอกจากจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามที่กล่าวมาข้างต้นต้องดำเนินการจดทะเบียนแล้ว
การจดทะเบียนพาณิชย์ยังมีประโยชน์แก่ผู้ประกอบการดังนี้
1. ทำให้กิจการมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากการจดทะเบียนพาณิชย์ทำให้ผู้บริโภคหรือคนภายนอกมั่นใจได้ว่ากิจการมีอยู่จริง มีตัวตนและทราบสถานที่ตั้งของกิจการที่แน่นอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้าว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าเป็นไปตามที่สั่งซื้อกับผู้ประกอบการ เนื่องจากในปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่หลอกลวงขายสินค้าแล้วไม่จัดส่งสินค้าตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อ หรือในกรณีที่ซื้อสินค้าไปแล้วสินค้ามีปัญหาในภายหลัง (โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับสินค้าในภายหลัง) ถ้าสินค้าประเภทเดียวกันและเปรียบเทียบร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์และไม่จดทะเบียนพาณิชย์ ทางผู้บริโภคจะมีความมั่นใจในการซื้อสินค้าและเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์มากกว่าร้านที่ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์
2. ทำให้ร้านค้าของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากในกรณีเป็นร้านค้าออนไลน์ซึ่งผู้ประกอบการได้ดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเว็บไซต์ของผู้ประกอบการไปไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งแยกตามประเภทธุรกิจ ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory ซึ่งจะเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้บุคคลทั่วไปค้นพบข้อมูลร้านค้าของผู้ประกอบการ จึงเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง
3. เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้ทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล โดยทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นพนักงานมีเงินเดือนประจำ เอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทางสถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินเพื่อมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ การกู้เงินเพื่อนำมาขยายกิจการ หรือแม้แต่การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์
4. มีสิทธิในการขอใช้เครื่องหมายรับรองของ DBD ในกรณีผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ผู้ประกอบการมีสิทธิในการขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered เพื่อนำไปติดตั้งบนหน้าเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อแสดงความมีตัวตนตามกฎหมาย ส่งผลในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถยื่นขอเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย DBD Registered (ซึ่งเว็บไซต์ต้องมีคุณภาพและเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

หน้าที่ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน
2. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) โดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อตัวหนังสือเป็นอักษรภาษาไทย อ่านง่ายและชัดเจน โดยจะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ในป้ายด้วย
กรณีถ้าไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์และจัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

ข้อดีของการใช้บริการจดทะเบียนกับเรา

•เรามีทีมงานจดทะเบียนมืออาชีพให้บริการแก่ท่าน
•ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลาเพราะไม่ต้องดำเนินเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง
•ค่าบริการเหมาะสมคุ้มค่า
•มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า

บริการด้วยทีมงานจดทะเบียนมืออาชีพ
“ประสบการณ์โดยตรง”
รวดเร็ว ทันเวลา ราคาเหมาะสม
🥰บริการประทับใจ ยินดีให้คำปรึกษา!

สนใจบริการติดต่อ


บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
Tel : 094 864 9799
LINE ID : @greenproksp
E-mail info.th@greenproksp.com

Add Friend
แชร์